Tag Archives: factory
โรงงานสามารถขนส่งขยะไปกำจัดเองได้หรือไม่?
1. ขยะไม่อันตราย ต้องเป็นรหัสที่ไม่เป็นของเสียอันตรายตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและต้องไม่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances) 1.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances) 1.3 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive substances) 1.4 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารพิษ (Toxic substances) 1.5 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปน ตามที่กำหนดไว้ 1.5.1 ค่าความเข้มข้นทั้งหมดของสิ่งเจือปน ต้องมีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตราย และสารอินทรีย์อันตรายในหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อหนึ่งกิโลกรัมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เท่ากับหรือมากกว่าค่า TTLC ที่กำหนดไว้ 1.5.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เมื่อนำมาสกัดด้วยวิธี WET และวิธีวิเคราะห์น้ำสกัดแล้ว มีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตราย และสารอินทรีย์อันตรายในหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อลิตรของน้ำสกัด (mg/L) เท่ากับหรือมากกว่าค่า STLC 1.5.3 ทดสอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยนำมาสกัดด้วยวิธี WET เมื่อค่าความเข้มข้นทั้งหมดของสารอันตรายใดๆมีค่าไม่เกินค่า TTLC ในข้อ 5.1 แต่เท่ากับหรือมากกว่าค่า STLC ของสารนั้นที่กำหนดในข้อ 5.2 PARAMETER หลักที่ใช้ในการพิจารณาความไม่อันตราย คือ สารเคมีอันตรายที่ใช้ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์อันตรายหรือสารอนินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตราย เช่น Cr3+, Cr6+, As, Cd, Cr, Cu, Pb, Hg, Ni, Zn, pH 2. ขยะไม่อันตราย ตาม พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ต้องไม่เป็น 2.1 วัตถุระเบิดได้ 2.2 วัตถุไวไฟ 2.3 วัตถุออกซิไดซ์หรือวัตถุเปอร์ออกไซด์ 2.4 วัตถุมีพิษ 2.5 วัตถุที่ทำให้เกิดโรค 2.6 วัตถุกัมมันตรังสี 2.7 วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 2.8 วัตถุกัดกร่อน 2.9 วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 2.10 วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์หรือสิ่งแวดล้อม