Category Archives: เกร็ดความรู้
CSR จากการกำจัดขยะ/CSR PROJECT
โครงการ CSR จากการกำจัดขยะ ปัจจุบันสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ความสำคัญในการจัดตั้งโครงการ CSR นั่นเพื่อแสดงถึง การประกอบกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับของ CSR และประเภทของ CSR มีหลายแบบ แต่โครงการ CSR รูปแบบหนึ่งที่โรงงานสามารถจัดทำได้คือ การนำขยะอุตสาหกรรม กากของเสีย ที่เกิดจากกระบวนการผลิต นำไปกำจัดด้วยกระบวนการนำไปเป็นวัตถุดิบร่วมหมักทำปุ๋ยที่โรงปุ๋ย เช่น กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย, WASTE WATER SLUDGE, ขี้เถ้า, กากวัตถุดิบ, กากมัน, ตะกอนระบบบำบัดชีวภาพ, กากกาแฟ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นวิธีกำจัดกากของเสียและขยะอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในปัจจุบัน นั่นคือ เมื่อนำขยะทำปุ๋ยแล้ว จะเกิดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีกด้วย
Oct
บริการกำจัดของเสียตกค้างที่ท่าเรือ พร้อมดำเนินการเอกสารนำออกให้
บริษัท เอ็น-เทคโนโลยีคอนซัลแตนท์ จำกัด นอกจากจะให้ บริการรับกำจัดกากของเสีย ทุกประเภทจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังรับกำจัดของเสียตกค้างที่ท่าเรือหรือของเสียตกค้างที่นำเข้าผ่านศุลกากร โดยที่มีเจ้าหน้าที่ช่วยดำเนินการด้านเอกสาร ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถนำของเสียออกมากำจัดได้อย่างถูกต้อง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และมีรถหัวลาก ให้บริการลากของเสียที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ออกไปกำจัดได้เลย ตัวอย่างการกำจัดทำลายของเสียตกค้างที่ท่าเรือ 1. วันที่ 16 ตุลาคม 2561 บริษัท MERSK TRANSPORT SINGAPORE จำกัด กำจัดสินค้าเสื่อมสภาพ (ประเภทนม) 2. วันที่ 21 มีนาคม 2561 บริษัท APL Co. Pte Ltd. กำจัด เนื้อไก่เสื่อมสภาพ โดยภายหลังจากที่มีการนำของเสียไปกำจัดแล้ว บริษัท เอ็น-เทคฯ จะมีเอกสารยืนยันการทำลายพร้อมภาพถ่าย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่ามีการนำของเสียไปกำจัดเรียบร้อยแล้วจริงt each other with our words, arguing as though we are [...]
Oct
ขยะแบบไหน? ที่ต้องยื่นขออนุญาตกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ขยะแบบไหนที่ต้องยื่นขออนุญาตกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 กำหนดว่า การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ การบำบัด ทำลายฤทธิ์ ทิ้ง กำจัดจำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อทำการดังกล่าว ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิดและมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ผู้รวบรวมและขนส่ง คือ ผู้มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครองเพื่อ การขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในสถานที่เก็บ รวบรวม หรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตรายผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 สรุปคือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกประเภทจากโรงงาน ที่เข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พระบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หากมีการนำออกนอกสถานประกอบการ ต้องมีการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนทุกครั้ง ยกเว้น1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจากสำนักงาน บ้านพักอาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน2. กากกัมมันตรังสี3. มูลฝอยตาม พรบ. สาธารณสุข4. น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง โดยหากมีการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้งหรือปิดปรับปรุงสถานประกอบการตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
Oct
โรงงานไม่มีขยะนำออก ต้องทำอย่างไร?
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548 หมวด 2 ข้อ 6ระบุว่า สถานประกอบการ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ต้องไม่ครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ภายในโรงงานเกินระยะเวลา 90 วัน หากเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ ต้องขออนุญาตต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบ สก.1 โรงงาน/ผู้ก่อของเสีย ของเสียที่เป็นอันตราย ของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ขนาดเล็ก (< 100 KG/เดือน) 90 วัน 90 วัน ขนาดกลาง (> 100 KG/เดือน แต่ < 1000 KG/เดือน) 180 วัน 90 วัน ขนาดใหญ่ (>1000 KG/เดือน) 90 วัน 90 วัน 1. กรณีมีใบอนุญาต สก.2 แล้ว ให้ยื่น สก.1 ขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในบริเวณโรงงาน ในระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือตามแบบคำขอเป็นเอกสาร2. กรณียังไม่มีใบอนุญาต สก.2 ให้ยื่น สก.1 ขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในบริเวณโรงงานได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องยื่น สก.2 ก่อน บทลงโทษของการเก็บของเสียไว้ภายในโรงงานเกินระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ขอขยายระยะเวลาเก็บของเสียตามแบบ สก.1 มาตรา 45 พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535 คือระวางโทษไม่เกิน 200,000 บาท/ครั้ง
Sep
โรงงานสามารถขนส่งขยะไปกำจัดเองได้หรือไม่?
1. ขยะไม่อันตราย ต้องเป็นรหัสที่ไม่เป็นของเสียอันตรายตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและต้องไม่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances) 1.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances) 1.3 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive substances) 1.4 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารพิษ (Toxic substances) 1.5 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปน ตามที่กำหนดไว้ 1.5.1 ค่าความเข้มข้นทั้งหมดของสิ่งเจือปน ต้องมีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตราย และสารอินทรีย์อันตรายในหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อหนึ่งกิโลกรัมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เท่ากับหรือมากกว่าค่า TTLC ที่กำหนดไว้ 1.5.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เมื่อนำมาสกัดด้วยวิธี WET และวิธีวิเคราะห์น้ำสกัดแล้ว มีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตราย และสารอินทรีย์อันตรายในหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อลิตรของน้ำสกัด (mg/L) เท่ากับหรือมากกว่าค่า STLC 1.5.3 ทดสอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยนำมาสกัดด้วยวิธี WET เมื่อค่าความเข้มข้นทั้งหมดของสารอันตรายใดๆมีค่าไม่เกินค่า TTLC ในข้อ 5.1 แต่เท่ากับหรือมากกว่าค่า STLC ของสารนั้นที่กำหนดในข้อ 5.2 PARAMETER หลักที่ใช้ในการพิจารณาความไม่อันตราย คือ สารเคมีอันตรายที่ใช้ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์อันตรายหรือสารอนินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตราย เช่น Cr3+, Cr6+, As, Cd, Cr, Cu, Pb, Hg, Ni, Zn, pH 2. ขยะไม่อันตราย ตาม พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ต้องไม่เป็น 2.1 วัตถุระเบิดได้ 2.2 วัตถุไวไฟ 2.3 วัตถุออกซิไดซ์หรือวัตถุเปอร์ออกไซด์ 2.4 วัตถุมีพิษ 2.5 วัตถุที่ทำให้เกิดโรค 2.6 วัตถุกัมมันตรังสี 2.7 วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 2.8 วัตถุกัดกร่อน 2.9 วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 2.10 วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์หรือสิ่งแวดล้อม
Sep
รถขนส่งขยะ/GARBAGE TRUCK
หลายท่านอาจคุ้นเคยกับการเรียกรถสิบล้อและแยกความแตกต่างระหว่างรถสิบล้อกับรถ ROLL OFF ไม่ถูก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักความพิเศษของรถขนขยะ ประเภท ROLL OFF เดี่ยวกัน – เหมาะสำหรับบรรทุกขยะ ขนขยะ ประเภทของแข็ง เนื่องจากมีฝาท้ายเปิดสำหรับเท DUMP ถ้าขนขยะที่เป็นของเหลว จะทำให้รั่วซึมผ่านรอยแยกตรงฝาท้ายได้ – ขนขยะ ขนส่งกาก ได้น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 14 ตัน (14,000 กิโลกรัม) ไม่รวมน้ำหนักรถ – สะดวกในการขนย้ายขยะและกากอุตสาหกรรม เนื่องจากมีไฮดรอลิกเลื่อนวาง ROLL OFF BOX บริเวณพื้นที่หน้างานที่ใช้ในการขนย้ายขยะหรือกากของเสียขึ้นรถรถ ROLL OFF สำหรับบริการขนส่งกากอุตสาหกรรม มี วอ.8 (ใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการขนส่ง) และ GPS ในการติดตามการขนส่งตั้งแต่ออกจากบริษัทลูกค้าไปจนถึงทีรับกำจัด
Sep
เอกสาร MANIFEST คืออะไร?
Manifest คือ เอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย หมายความว่า เอกสารที่ออกให้ผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย ผู้ขนส่งของเสียอันตราย และผู้เก็บรวบรวมบำบัดและกำจัดของเสียอันตรายเพื่อเป็นหลักฐานในการมอบหมายให้ขนส่งของเสียอันตรายที่อยู่ในความครอบครองของตนจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง การจัดทำเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย ต้องจัดทำโดยผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย ซึ่งจะประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนารวม 6 ฉบับ โดยเมื่อเกิดการขนส่งของเสียอันตรายขึ้น – ผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย เก็บใบกำกับการขนส่งฉบับที่ 2 ไว้อย่างน้อย 3 ปี และส่งฉบับ 3 ไปที่หน่วยงานที่กำกับดูแลภายใน 15 วัน – ผู้ขนส่งของเสียอันตราย นำใบกำกับการขนส่งฉบับที่ 1, 4, 5, 6 ติดไปกับรถขนส่งจนถึงสถานที่เก็บกัก บำบัด และกำจัดของเสียอันตราย เพื่อลงนามหลังตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นเก็บฉบับที่ 4 ไว้ – ผู้รับบำบัด และกำจัดของเสียอันตราย เก็บใบกำกับการขนส่งฉบับที่ 5 ไว้กับตนเองอย่างน้อย 3 ปี ส่งคืนฉบับที่ 6 แก่ผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย และนำส่งฉบับที่ 1 ไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแลภายใน 15 วัน การลงนามใน Manifest ต้องเป็นผู้มีอำนาจลงนามตามรายชื่อในหนังสือรับรองบริษัท หรือได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้สามารถลงนามในเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตรายได้
Aug