Category Archives: เกร็ดความรู้

Manifest คือ ?

Business photo created by katemangostar - www.freepik.com

รู้หรือไม่? เลขประจำตัว 13หลัก ออกให้ผู้ก่อกำเนิด…

ผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตรายที่มีของเสียอันตรายมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อเดือนขึ้นไปเท่านั้น ที่ต้องขอเลขประจำตัว 13 หลัก DIW-G-XXXXXXXXX กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่!!!!! ผู้ก่อกำเนิดของเสียไม่อันตราย ใช้เลขประจำตัวในการเข้าระบบเป็น เลขทะเบียนโรงงานของตัวเองได้เลย

ขยะอุตสาหกรรม แบบไหนที่ควรนำไปกำจัดด้วยกระบวนการหมักทำปุ๋ย?

การกำจัดขยะอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการหมักทำปุ๋ย (083) ถือเป็นวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงนิยมเลือกกำจัดขยะอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง-โรงงานอาหาร เครื่องดื่ม-โรงงานกระดาษ เยื่อกระดาษ-โรงงานเกษตรแปรรูป แต่ !….โรงงานประเภทอื่นๆ อย่าเพิ่งน้อยใจไป หากขยะอุตสาหกรรมของท่านเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์นี้ ก็สามารถนำไปทำปุ๋ยได้เช่นกัน

ขยะอุตสาหกรรม แบบไหนที่ควรนำไปกำจัดด้วยกระบวนการฝังกลบ?

หลุมฝังกลบขยะอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามกฎหมายกำหนด ได้แก่1. หลุมฝังกลบขยะอุตสาหกรรมไม่อันตราย (Sanitary landfill)2. หลุมฝังกลบขยะอุตสาหกรรมอันตราย เมื่อทำการปรับเสถียรหรือทำให้เป็นก้อนแข็งแล้ว (Secure landfill of stabilized [...]

ปริมาณกากของเสียมีน้อย ยังไม่ส่งกำจัดได้หรือไม่?

ปริมาณกากของเสียมีน้อย….รอรวบรวมปริมาณ….ยังหาผู้รับกำจัดไม่ได้….. ยังไม่ส่งกำจัดได้หรือไม่? และต้องทำอย่างไรดี? สามารถทำได้ค่ะ เพียงแค่คุณขอ สก.1 เท่านั้นนน!!!

ค่า PH บอกความอันตรายของกากได้

ค่า pH สามารถบ่งบอกลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วว่าเป็นอันตรายหรือไม่ ได้อย่างไรสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตราย จะมีคุณสมบัติดังนี้”เป็นสารละลาย (Aqueous Solution) ที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 2 หรือต่ำกว่า และค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ [...]

คุณทราบความหมายของตัวอักษรนี้หรือไม่?

สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีรหัสเลข 6 หลักกำกับด้วยตัวอักษร HA (Hazardous waste –Absolute entry) หรือ HM (Hazardous waste – Mirror entry) [...]

วิธีการขอเลขประจำตัวผู้ก่อกำเนิดของเสีย (เลขประจําตัว 13 หลัก)

วิธีการขอเลขประจำตัวผู้ก่อกำเนิดของเสีย (เลขประจําตัว 13 หลัก)หมายถึง รหัสที่กรมโรงงานออกให้สําหรับผู้ที่ดําเนินการเกี่ยวกับของเสียที่นำออกนอกบริเวณโรงงาน 1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.diw.go.th จากนั้นคลิกที่เมนู “บริการอิเล็กทรอนิกส์” 2. คลิกที่เมนู “ระบบการอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์(จัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว)” 3. คลิกที่เมนู “สมัครใช้บริการสำหรับผู้ประกอบการโรงงาน” 4. ระบบจะแสดงขั้นตอนการสมัครใช้บริการ จากนั้นคลิกที่เมนู “สมัครใช้บริการ” 5. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “สมัครใช้บริการ” *เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว*ระบบจะแสดงเลขประจำตัวผู้ก่อกำเนิด และรหัสผ่านให้ทางหน้าจอทันที

(กอ.1) หนังสือยินยอมระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อประกันความรับผิด -LIABILITY

(กอ.1) หนังสือยินยอมระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อประกันความรับผิด -Liability ผู้จัดทำ:ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) / ผู้รับกำจัด (Waste Processor) ระยะเวลาที่ระบุในเอกสาร กอ.1:สอดคล้องตามแบบคำขออนุญาตนำกากของเสียออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ข้อตกลงนี้ทำขึ้น 3 ฉบับ:ทั้ง 2 ฝ่ายได้อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน จึงลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)ชุดที่ 1 : ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) ชุดที่ 2 : ผู้รับกำจัด (Waste Processor) ชุดที่ 3 : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการหลายราย พบว่า เมื่อมีการยื่น สก.2 ไปในระบบอิเล็กทรอนิคส์แล้ว เจ้าหน้าที่พิจารณาไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการให้แนบเอกสาร กอ.1 ประกอบการพิจารณาด้วย [...]

กากอุตสาหกรรมทำ “ปุ๋ย” ได้

กากอุตสาหกรรมทำ “ปุ๋ย” ได้ กากของเสียจากโรงงานผลิตอาหาร เครื่องดื่ม เยื่อกระดาษ สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมหมักทำปุ๋ย (083) เช่น กากกาแฟ, กากมัน, นมเสื่อมสภาพ, ยีสต์,กากส่าเหล้า, ปูนขาว, กากตะกอนจากระบบบำบัดชีวภาพ, ขี้เถ้า เป็นต้น จากกากของเสียดังกล่าวทำให้เราได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งล้อม ลดการใช้สารเคมี อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา